ธนาคารไทยรับมือ "ความผันผวนเศรษฐกิจโลก" ไหวหรือไม่
โดยมุมมองของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) มองว่าภาคธนาคารไทยน่าจะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในปี 2566 จากการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลงและการเติบโตของสินเชื่อ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้น
SCB EIC ปรับเพิ่มจีดีพีไทย โต 3.9% มอง SVB ไม่ก่อวิกฤตการเงินโลก คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เปิดสาเหตุ"กรุงไทย"เก็บค่าธรรมเนียมกดเงินไม่ใช้บัตร
โดย คุณจินดารัตน์ สิริสิทธิโชติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายจัดอันดับเครดิตสถาบันการเงินของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ฟิทช์คาดว่าธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะมีผลการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 2566 เนื่องจากการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลงและสินเชื่อที่เติบโตสูงขึ้น
ในขณะที่ธนาคารไทยยังคงเผชิญกับแรงกดดันด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่อเนื่องจากการที่มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ทยอยหมดอายุลงและการที่ธนาคารทยอยลดสัดส่วนสินเชื่อที่ได้รับการปรับโครงสร้าง นอกจากนั้นยังมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง เช่นในด้าน เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่นับเป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1) และอัตราส่วนสำรองต่อหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยมีค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 15.3% และ 171% ตามลำดับ ณ สิ้นปี 2565
ฟิทช์คาดว่าฐานะสภาพคล่องของธนาคารไทยจะยังคงมีเสถียรภาพ เนื่องจากธนาคารไทยส่วนใหญ่มีการระดมเงินจากเงินฝากโดยไม่ได้มีการพึ่งพาการระดมเงินจากตลาดทุนหรือจากต่างประเทศในระดับที่มีนัยสำคัญ อัตราส่วนของปริมาณสินทรัพย์สภาพคล่องทั้งสิ้นต่อประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิ (Liquidity Coverage Ratio) เฉลี่ยของอุตสาหกรรมยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 192% ณ สิ้นปี 2565
อย่างไรก็ตาม ฟิทช์เพิ่งมีการปรับประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) เป็น 4.0% จาก 3.8% จากการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวน่าจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นโดยได้แรงหนุนจากการเปิดประเทศของจีน
เช่นเดียวกับมุมมองจาก ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB: BBB/Stable) มองว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่เคยประเมินไว้ เศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งหลังกลับมาเปิดประเทศ
โดย SCB EIC คาดว่าธนาคารกลางรายใหญ่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูงเป็นเวลาต่อเนื่อง จากการที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง SCB EIC ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 เป็น 3.9% จากเดิม 3.4% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวที่ดีขึ้นมากของภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ